Skip to content

ESG คืออะไรแล้วทำไมจึงมันจะเป็นคำยอดฮิตในอีกหลายปีจากนี้ 

  • by

ESG เป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในรายงานของหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบของสหประชาชาติ ปี 2004 (United Nation’s Principles for Responsible Investment :PRI) ในหัวข้อ ‘Who Cares Wins’ แปลตรง ๆ ได้ว่า “ผู้ที่ห่วงใยหรือใส่ใจ จะเป็นผู้ชนะ” โดยหลักการดังกล่าวถูกใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาสนับสนุนเงินทุนแก่บริษัท และต่อมาเมื่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากผู้คนมากขึ้น ESG จึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ที่ผู้ประกอบการทั่วโลกให้ความสำคัญและเริ่มนำมาปรับใช้อย่างจริงจัง

กรอบแนวคิด ESG ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment: E) สังคม (Social: S) และ การกำกับดูแลกิจการ (Governance: G) ซึ่งการนำกรอบแนวคิด ESG มาพิจารณาในการดำเนินธุรกิจจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในฐานะองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และยังช่วยเสริมความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า หรือนักลงทุน เนื่องจากในการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานแนวคิด ESG จะมีกระบวนการตรวจสอบและกำกับดูแลโดยหน่วยงานมาตรฐานกลางหรือหน่วยงานภายนอก จึงเป็นการยืนยันความโปร่งใสอีกชั้นหนึ่งด้วย นอกจากนี้ ESG ยังอาจช่วยยกระดับผลิตภาพ (Productivity) ความสามารถในการแข่งขัน ผลประกอบการ และผลกำไรได้ด้วย

หลักเกณฑ์การประเมินและจัดอันดับด้าน ESG นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละสำนักผู้ประเมิน โดยแต่ละแห่งมีระเบียบวิธีและใช้ดัชนีที่แตกต่างกัน เช่น ดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ดัชนี FTSE4Good Index และ ดัชนี MSCI ESG Index ส่วนในประเทศไทยตลาดหลักทรัพย์ได้จัดตั้งเกณฑ์หุ้นยั่งยืน (THSI) หรือสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ หน่วยงานอิสระสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแบบประเมิน ESG เบื้องต้นให้กับบริษัทที่ต้องการทราบระดับคะแนนการดำเนินการด้าน ESG เพื่อยกระดับการดำเนินการขององค์กรให้ดีขึ้นโดยประยุกต์แนวทางหลักเกณฑ์การประเมินจาก Sustainable Corporation Index : SCI ตามแนวทางของ CERES และ Dow Jones Sustainability Indices : DJSI เป็นต้น

ทีมา https://globthailand.com/globinsight-esg/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *